เมื่อ 20 ปีก่อน ผมเป็นเด็กหนุ่มที่มาเรียนที่อเมริกา นึกไม่ถึงว่าวันนี้ผมจะมีอาชีพเป็นนักลงทุน และนึกไม่ถึงว่าผมจะโชคดีที่ได้พบกับกูรูร่วมสมัยทางด้านการลงทุนอย่างชา ร์ลี มังเจอร์
ในปี 2004 มังเจอร์ได้เป็นหุ้นส่วนในด้านการลงทุนของผม และหลังจากนั้นเป็นผู้ให้คำปรึกษา และเพื่อน — เป็นโอกาสที่ผมไม่เคยคิดฝันมาก่อน
ผมจบจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบียในปี 1996 และก่อตั้งบริษัทเพื่อการลงทุนในปี 1997 ถือเป็นจุดเริ่มต้นกับอาชีพการลงทุน
ตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันนี้ นักลงทุนบุคคลและสถาบันส่วนใหญ่ยังคงใช้ปรัชญาในการลงทุนที่มีพื้นฐานที่ เรียกว่า “bad theories” ตัวอย่างเช่น พวกเขาเชื่อในสมมุติฐานที่ว่าตลาดมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงเชื่อว่าความผันผวนของราคาหุ้นเป็นความเสี่ยงอย่างแท้จริง และตัดสินผลงานของคุณจากความผันผวนนั้น ในความคิดของผม ความผันผวนของราคานั้นไม่ใช่ความเสี่ยง แต่ความเสี่ยงคือการขาดทุนอย่างถาวรต่างหาก การตกลงของราคาหุ้นไม่ใช่แค่ความเสี่ยง แต่เป็นโอกาสต่างหาก คำถามคือคุณจะหาหุ้นถูกๆ จากที่ไหนได้อีกล่ะ? ดูอย่างผิวเผิน ผมพบว่าผู้จัดการกองทุนที่มีชื่อเสียงยอมรับทฤษฎีของบัฟเฟตและมังเจอร์ และชื่นชมในผลงาน แต่ในทางปฏิบัติกลับทำในสิ่งตรงข้าม เนื่องจากลูกค้าของพวกเขาก็ทำในสิ่งที่ตรงข้ามเช่นกัน พวกเขายังคงยอมรับทฤษฎีที่ว่า “ความผันผวนคือความเสี่ยง” และ “ตลาดมักถูกเสมอ”
โอกาสที่มาโดยไม่ได้คาดคิดทำให้ผมได้พบกับชาร์ลี มังเจอร์ ซึ่งเป็นทั้งผู้ให้คำปรึกษา และเพื่อน
ผมพบกับชาร์ลีครั้งแรก ที่บ้านของเพื่อน ในขณะที่ผมทำงานด้านการลงทุนที่แอลเอ (LA) หลังจากเรียนจบจากมหาวิทยาลัย ความประทับใจแรกที่ผมพบคือ “ความห่าง” เขามักเหม่อลอยกับบทสนทนาของอีกฝ่ายแต่สนใจกับหัวข้อของเขา แต่ผู้เฒ่าท่านนี้พูดได้อย่างกระชับ และเต็มไปด้วยความรู้ที่ทำให้คุณต้องหยุดคิด และเรียนรู้
7 ปีต่อมาหลังจากที่เราได้รู้จักกัน ในวันขอบคุณ(พระเจ้า) ในปี 2003 เราได้คุยกันนานอย่างใจจดใจจ่อ ผมได้แนะนำบริษัททุกบริษัทที่ผมได้ลงทุนหรือที่ศึกษา หรือที่สนใจต่อชาร์ลีจากนั้นเขาจะวิจารณ์แต่ละบริษัทกลับมา ผมยังขอคำแนะนำสำหรับปัญหาที่ผมกำลังเผชิญ ในท้ายที่สุดเขากล่าวว่าปัญหาที่ผมกำลังเผชิญเป็นปัญหาเดียวกันกับพวก Wall Street ปัญหาก็คือแนวความคิดของพวก Wall Street และถึงแม้ว่า Berkshire Hathaway จะประสบความสำเร็จอย่างไรก็ไม่มีบริษัทไหนใน Wall street ที่จะลอกเลียนแบบได้เลย และถ้าผมยังดันทุรังลงทุนในแบบเดิมๆอีก ผมก็จะยังคงต้องกังวลในแบบเดิมอีกต่อไป แต่ถ้าผมยกเลิกวิธีการแบบเดิมให้แตกต่างจากพวก Wall Street เขาก็พร้อมที่จะร่วมลงทุนด้วย มันทำให้ผมประทับใจอย่างมาก
จากความช่วยเหลือของชาร์ลี ผมได้ปรับโครงสร้างบริษัทเพื่อการลงทุนของผมอย่างสมบูรณ์ ไปเป็นรูปแบบคล้ายๆ กับของบัฟเฟตและมังเจอร์ ในช่วงแรกๆ (หมายเหตุ : บัฟเฟตและมังเจอร์ ต่างบริหารการลงทุนกับหุ้นส่วนของตัวเอง) และเหล่ากองทุนบริหารความเสี่ยงก็ค่อยๆ หายไป เหลือแต่นักลงทุนระยะยาวเท่านั้น และไม่รับนักลงทุนใหม่อีกเลย
นั่นทำให้ผมเข้าสู่ช่วงเวลาทองของการลงทุนของผม ผมได้หลุดจากข้อจำกัดทั้งหลายของพวก Wall Street อย่างไรก็ตามผลตอบแทนยังคงผันผวนเช่นเคย แต่ในที่สุดผลตอบแทนก็เติบโตสูงขึ้นมาก จากไตรมาส 4 ปี 2004 ไปจนถึง สิ้นปี 2009 กองทุนให้ผลตอบแทนในอัตราทบต้น 36% ต่อปี หลังจากหักค่าใช้จ่าย ผลตอบแทนตั้งแต่เริ่มก่อตั้งกองทุนในเดือนมกราคมปี 1998 มีอัตราผลตอบแทนทบต้น 29% ต่อปีและใน 12 ปีเงินกองทุนได้เติบโตถึง 20 เท่า
บัฟเฟตได้กล่าวว่า แม้ว่าในชีวิตนี้เขาพบคนมามากมายนับไม่ถ้วน ไม่มีใครที่เหมือนชาร์ลีเลย ซึ่งทำให้ผมได้เชื่ออย่างนั้นหลังจากที่ผมโชคดีที่ได้รู้จักและทำความเข้าใจ เขา ผมยิ่งเชื่ออย่างลึกซื้งว่า ไม่ว่าใคร อายุเท่าไหร่ ก็ไม่มีใครเหมือนเขา ชาร์ลีเป็นคนที่มีเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใคร — เอกลักษณ์ในเรื่องความคิดและบุคลิกภาพ
เมื่อไหร่ที่ชาร์ลีคิดในสิ่งใด เขามักจะคิดในทางตรงกันข้าม เช่น เมื่อเขาอยากรู้ว่าจะทำอย่างไรให้ชีวิตมีความสุขชาร์ลีจะศึกษาว่าทำอย่างไร ชีวิตถึงจะทุกข์ เมื่อเขาจะเรียนรู้วิธีจะทำให้ธุรกิจยิ่งใหญ่และเข้มแข็ง เขาจะเริ่มศึกษาวิธีทำอย่างไรให้ธุรกิจตกต่ำและจบลง หลายคนศึกษาวิธีที่จะประสบความสำเร็จจากตลาดหุ้น แต่ชาร์ลีจะศึกษาว่าทำไมคนส่วนใหญ่ถึงได้ล้มเหลวจากตลาดหุ้น วิธีการคิดอย่างนี้ได้รับมาจากปรัชญาของชาวนาที่กล่าวว่า ฉันอยากรู้ว่าฉันจะตายอย่างไร เพื่อที่ฉันจะได้ไม่ไปที่นั่น
ชาร์ลียังคงรวบรวมและวิจัยความล้มเหลวของแต่ละคน ธุรกิจ รัฐบาล และการศึกษา อย่างสม่ำเสมอ จากนั้นจึงเรียบเรียงสาเหตุเพื่อนำไปสู่รายการเพื่อการตัดสินใจที่ถูกต้อง ด้วยวิธีนี้ เขาสามารถหลีกเลี่ยงความผิดพลาดที่ยิ่งใหญ่ได้ในชีวิตและการทำงาน สิ่งนี้ไม่ได้เน้นย้ำมากนักในความสำเร็จของบัฟเฟตและ Berkshire Hathaway ตลอด 50 ปีที่ผ่านมา
ชาร์ลีมีความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์ ไม่มีขีดจำกัด โซ่ตร่วน หรือศาสนา เขามีความกระตือรือร้นอย่างเด็ก และมีความสามารถด้านวิทยาศาสตร์อย่างสูง เขามีความกระหายที่จะหาความรู้ตลอดในทุกสิ่งทุกอย่าง สำหรับเขาแล้วทุกปัญหาสามารถเข้าใจได้ด้วยตนเอง ด้วยวิธีการที่ถูกต้อง สร้างสรรค์ต่อจากพื้นฐานที่คนก่อนได้สร้างไว้ ความคิดของเขาแผ่ไปทั่วทุกธุรกิจ ชีวิต และความรู้ในทุกแขนง ในมุมมองเขา ทุกสิ่งในจักรวาลมีการปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และความรู้ของมนุษยชาติได้ทำการศึกษาแต่ละส่วนนั้น เพียงแค่เรียงร้อยความรู้เหล่านี้เข้าด้วยกัน จะทำให้มีประโยชน์มากในการตัดสินใจและเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม ทำให้เขาอุทิศศึกษาทุกทฤษฎีที่สำคัญ และสร้างพื้นฐานขึ้นมาเรียกว่า “worldly wisdom” เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในธุรกิจและการลงทุน
แนวความคิดของชาร์ลีอยู่บนพื้นฐานความซื่อสัตย์ต่อความรู้ เขาเชื่อว่าโลกที่ซับซ้อนและกำลังเปลี่ยนแปลงไป มีขีดจำกัดอยู่ที่ความหยั่งรู้และเข้าใจ ดังนั้นคุณจึงต้องใช้เครื่องมือทั้งหมดในการกำจัดมัน ในขณะเดียวกันคุณต้องรวบรวมข้อเท็จจริงใหม่ๆ ที่พิสูจน์ได้ เพื่อตรวจสอบและปรับปรุงความรู้ของคุณ และรู้ว่าสิ่งใดที่คุณรู้และสิ่งใดที่คุณไม่รู้
ถึงกระนั้น ความเข้าใจอย่างแท้จริงของมนุษย์ก็ยังมีขีดจำกัด ดังนั้นการตัดสินใจจึงต้องอยู่ในขอบเขตของคุณที่เรียกว่า “circle of competence” ความสามารถที่มีขอบเขตเท่านั้นถึงจะเป็นความสามารถที่แท้จริง คำถาม:คุณจะกำหนดขอบเขตความรู้ ของคุณได้อย่างไร?
ชาร์ลีกล่าวว่า ถ้าเขาต้องเชื่อในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เขาจะต้องไม่สามาถปฎิเสธหรือโต้แย้งได้ว่าความคิดนั้นดีกว่า ความคิดจากคนที่เก่งที่สุดในโลกนี้ มิฉะนั้นเขาจะไม่เชื่ออย่างเด็ดขาด ซึ่งหมายความว่าความคิดของเขานอกจากจะต้องริเริ่มสร้างสรรค์แล้ว จะต้องแทบไม่เคยผิดอีกด้วย
สุภาพสตรีที่สวยคนหนึ่ง ครั้งหนึ่งยืนยันว่าชาร์ลี กล่าวสรุปที่มาของความสำเร็จของเค้าด้วยคำๆเดียวคือ “เหตุผล” (rational) อย่างไรก็ตาม นิยามของเหตุผลที่เขาใช้มีความเข้มงวดมากกว่า ซึ่งทำให้เหตุผลของเขาเป็นเหตุผลที่ทำให้มีวิสัยทัศน์และเข้าใจอย่างถ่องแท้ และถึงแม้จะเป็นสิ่งที่เขาไม่ชำนาญเลย เขาก็ยังสามาถระบุประเด็นต่างๆ ที่จำเป็นออกมาได้ บัฟเฟตเรียกสิ่งนี้ว่า “two-minute effect” บัฟเฟตกล่าวว่าชาร์ลีสามารถเข้าใจความซับซ้อนของธุรกิจได้ในเวลาอันสั้นที่ ไม่มีใครเทียบได้ ขั้นตอนการลงทุนของ Berkshire ใน BYD Auto เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ผมจำได้ ในปี 2003 ผมได้ถกเถึยงเกี่ยวกับ BYD เป็นครั้งแรกกับชาร์ลี ทั้งๆ เขาไม่เคยพบกับ Wang Chuanfu (ประธาน BYD Auto) และไม่เคยไปที่โรงงาน อีกทั้งไม่ค่อยคุ้นเคยกับวัฒนธรรมและตลาดของชาวจีน คำถามและคำวิจารณ์ของเขาก็ยังคงเป็นคำถามที่ตรงประเด็นที่สุดที่นักลงทุนคน ใดคิดจะลงทุนในบริษัท BYD ณ วันนี้
ทุกคนมีจุดบอด แม้แต่คนที่ฉลาดที่สุดก็ไม่เว้น บัฟเฟตกล่าวว่า “เบนจามิน เกรแฮม สอนผมให้แค่ซื้อหุ้นที่ถูก แต่ชาร์ลีทำให้ผมเปลี่ยนความคิด นั่นคือสิ่งที่มีผลกระทบมากที่สุดที่ชาร์ลีมีต่อผม ผมต้องการแรงขับอย่างมากที่จะทำให้ผมยอมเดินออกจากข้อจำกัดในทฤษฎีของเกรแฮม ความคิดของชาร์ลีเป็นแหล่งพลัง ทำให้ผมขยายขอบเขต” ผมก็มีประสบการณ์ที่สุดยอดเช่นเดียวกัน ชาร์ลีชี้จุดบอดในความคิดผม ซึ่งถ้าผมไม่ได้รับความช่วยเหลือจากเขา ผมก็ยังคงอยู่ในช่วงของการพัฒนา และคลานไปอย่างช้าๆ
ชาร์ลีใช้ชีวิตทั้งหมดศึกษาหายนะของมนุษย์ และชอบหาสาเหตุที่ทำให้เกิดข้อผิดพลาดจากความโน้มเอียงทางจิตวิทยา สิ่งที่มีค่าที่สุดก็คือเขาทำนายความหายนะของการแพร่หลายของอนุพันธ์ทางการ เงิน และช่องโหว่ในทางบัญชี และระบบตรวจสอบ ย้อนกลับไปในช่วงปลายทศวรรษ 1990 เขาและบัฟเฟตได้เตือนถึงความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากอนุพันธ์ทางการเงินที่ ได้เพิ่มขึ้นอย่างแพร่หลาย ซึ่งเปรียบได้ดั่งอาวุธร้ายแรงที่สามารถทำลายล้างได้อย่างกว้างขวาง และถ้าไม่สามารถหยุดมันได้ก่อนเวลาอันควร มันจะสร้างความเสียหายให้กับสังคมปัจจุบัน โชคไม่ดีที่วิกฤตการณ์การเงินในปี 2008-2009 เป็นไปดังที่ชาร์ลีคาดและเข้าใจไว้ก่อนแล้ว
ถ้าเปรียบชาร์ลีกับบัฟเฟตแล้ว ชาร์ลีสนใจในสิ่งที่กว้างกว่า ยกตัวอย่างเช่น เขาสนใจในวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ ทุกแขนง นำมารวมกันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของความคิดพื้นฐาน เมื่อเทียบกับความคิดที่มาจากหอคอยงาช้างแล้ว ทฤษฎีของมังเจอร์ ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาในทางปฏิบัติ ตัวอย่างเท่าที่ผมรู้ เช่น ชาร์ลีเป็นคนแรกที่เสนอแนวความคิดทางด้านจิตวิทยาการโน้มเอียงของมนุษย์ และผลกระทบต่อขั้นตอนการตัดสินใจในการลงทุน 10 ปีต่อมา ณ ปัจจุบันหัวข้อ Behavioral Finance กลายเป็นหัวข้อที่เป็นที่นิยมในการวิจัยในแวดวงนักเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับ รางวัลโนเบล กรอบทฤษฎีที่ชาร์ลีได้อธิบายในบทสุดท้ายของหนังสือ “The Psychology of Human Misjudgement” อาจจะกลายเป็นสิ่งที่เข้าใจกันอย่างกว้างขวาง และนำไปใช้โดยผู้คนในอนาคต
โดยธรรมชาติแล้วชาร์ลีเป็นคนที่มีพลังอย่างมหาศาล ชาร์ลีมีอายุ 72 ปี ขณะที่ผมพบเขาในปี 1996 และขณะนี้เขามีอายุ 86 ปี ตลอดหลายสิบปีที่ผมได้รู้จักชาร์ลี ระดับพลังงานของเขาไม่เคยเปลี่ยน เขายังดูมีพลังอยู่เสมอและเป็นคนตื่นเช้า การนัดหมายตอนอาหารเช้ามักเริ่มที่เวลา 7.30 น. ในขณะเดียวกันก็มีนัดในช่วงค่ำ เขาจึงนอนน้อยกว่าคนทั่วไปโดยเฉลี่ย แต่นั่นก็ไม่ได้มีผลต่อพลังที่เหลือเฟือของเขาเลย ความจำของเขาน่าทึ่งมาก เขายังคงจำตัวเลขในการดำเนินงานของบริษัท BYD ที่ผมได้ถกเถึยงด้วยหลายปีก่อน ในขณะที่ผมจำไม่ค่อยจะได้แล้ว
การที่คนอายุ 86 ปี ยังคงมีความจำดีกว่าคนหนุ่ม ถือเป็นข้อได้เปรียบที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด แต่ความสำเร็จกลับได้มาจากการทำงานหนักที่มาพร้อมด้วยคุณภาพที่พิเศษ เมื่อชาร์ลีสนใจในสิ่งใด เขาสามารถทำมันได้ตลอดชีวิต
สำหรับผมแล้วชาร์ลีไม่ใช่แค่หุ้นส่วน แต่เขาเป็นทั้งญาติผู้ใหญ่ อาจารย์ เพื่อน และต้นแบบในความสำเร็จและการใช้ชีวิต ผมไม่เพียงแต่เรียนรู้หลักการลงทุนแบบเน้นคุณค่า แต่ผมยังได้เรียนรู้หลักในการดำรงชีวิตจากเขา เขาทำให้ผมเข้าใจอย่างหนึ่งว่า ความสำเร็จไม่ได้มาโดยบังเอิญ แน่นอนช่วงเวลาและโอกาสก็เป็นสิ่งสำคัญ แต่คุณภาพที่ได้สืบทอดมาสำคัญยิ่งกว่า
ชาร์ลีมักนัดหมายผู้คนในช่วงเวลาอาหารเช้า ปกติเริ่มที่เวลา 7.30 น. ผมจำได้ในครั้งแรกที่ผมนัดทานอาหารเช้ากับชาร์ลี ผมมาตรงเวลา ปรากฎว่าชาร์ลี นั่งอยู่ที่นั่นแล้ว และอ่านหนังสือพิมพ์ของวันนั้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว ถึงแม้ว่าผมจะไปสายนิดหน่อย แต่ผมก็รู้สึกแย่ที่ปล่อยให้ผู้ใหญ่ที่เคารพต้องนั่งรอผม พอครั้งที่สองผมมาก่อนเวลา 15 นาที ผมพบชาร์ลีนั่งอ่านหนังสือพิมพ์อยู่ก่อนแล้วอีกเช่นกัน พอครั้งที่สามผมมาถึงก่อนครึ่งชั่วโมง ผมก็พบชาร์ลีกำลังอ่านหนังสือพิมพ์อยู่อีกเช่นเดิมราวกับว่าเขาไม่ได้ลุกไป จากที่นั่งเลย พอครั้งที่สี่ ผมมานั่งรอตั้งแต่เวลา 6.30 น. พอเวลา 6.45 น. ชาร์ลีก็ค่อยๆ เดินมานั่งพร้อมกับหนังสือพิมพ์กองโต และไม่ทันสังเกตุเห็นผมที่นั่งอยู่ก่อนแล้ว หลังจากนั้นผมถึงเข้าใจว่าชาร์ลีจะมาก่อนเวลานัดหมายเสมอ แต่เขาก็จะอ่านหนังสือพิมพ์ที่พกมาด้วยเพื่อไม่ยอมให้เสียเวลาเช่นกัน
ในการพบปะครั้งหนึ่งกับชาร์ลีที่มีผลกับผมมาก ชาร์ลีกับผมต้องไปประชุมที่นอกรัฐ หลักจากเสร็จงานประชุม ผมต้องรีบบินกลับ นิวยอร์ค ผมบังเอิญพบกับชาร์ลีที่ประตูทางเข้าสนามบิน เมื่อร่างที่ใหญ่ของเขาผ่านเครื่องตรวจสัญญาณรักษาความปลอดภัย ปรากฎว่าเกิดสัญญาณดังขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุชาร์ลีต้องกลับมาตรวจซ้ำแล้วซ้ำ อีกจนเครื่องบินของเขาออกไปแล้ว
แต่ชาร์ลีก็ไม่ได้เร่งรีบใดๆ เขานำหนังสือที่พกมาด้วย และนั่งอ่านขณะที่เขารอเครื่องลำถัดไป ซึ่งบังเอิญที่เที่ยวบินของผมก็ล่าช้าทำให้เราต้องอยู่รอด้วยกัน
ผมถามชาร์ลีว่า “คุณมีเครื่องบินส่วนตัวเช่นเดียวกับคนอื่นที่ Berkshire ไม่ใช่เหรอ ทำไมต้องมานั่งปวดหัวกับสายการบินอย่างนี้ ?”
ชาร์ลีตอบ “อย่างแรกเลย สำหรับผมคือมันเปลืองน้ำมัน และอย่างที่สองผมรู้สึกปลอดภัยกว่า” แต่เหตุผลที่แท้จริงคือเหตุผลที่สามคือ “ผมต้องการมีชีวิตที่มีส่วนร่วม ผมไม่ต้องการมีชีวิตที่อยู่อย่างแปลกแยก โดดเดี่ยว”
สิ่งที่ชาร์ลีทนไม่ได้คือการขาดการติดต่อกับโลกภายนอกอันเนื่องมาจากการที่ เขามีเงินและความมั่งคั่ง ในการแยกตัวออกมาอยู่คนเดียวในห้องด้านหลังเขาวงกตในสำนักงาน ต้องผ่านขั้นตอนหลายชั้นในการอนุมัติการประชุม และหลบซ่อนอยู่เบื้องหลังระบบราชการอันซับซ้อน ที่ทำให้คนอื่นเข้าพบได้ยาก นั่นคือสิ่งที่ทำให้คุณสูญเสียการติดต่อกับความเป็นจริงของชีวิต
“ตราบใดที่ผมมีหนังสือในมือ ผมไม่รู้สึกเลยว่ากำลังเสียเวลา” ชาร์ลีมักนำหนังสือติดตัวไปด้วยเสมอ ถึงแม้เขาจะนั่งที่นั่งตรงกลางในชั้นประหยัดบนเครื่องบิน ตราบใดที่เขามีหนังสือ เขาจะไม่บ่นเลย ครั้งหนึ่งเขาไปประชุมที่ซีแอตเทิล ด้วยชั้นประหยัดเช่นเดิม เขานั่งข้างๆ เด็กผู้หญิงชาวจีนที่กำลังนั่งทำการบ้านตลอดทาง เขาประทับใจมากกับเด็กหญิงชาวจีน ขณะที่เขากำลังจินตนาการอย่างยากลำบากว่าจะมีเด็กหญิงชาวอเมริกันคนไหนที่จะ มีพลังในการที่จะจดจ่อและไม่สนใจเสียงเครื่องบินขณะทำการอ่านหนังสือได้ ซึ่งเขาจะไม่ได้มีโอกาสได้เห็นเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้น ถ้าเขานั่งเครื่องบินส่วนตัว
ถึงแม้ชาร์ลีจะมีวินัยสูงกับตัวเองมาก แต่เขาก็เอื้อเฟื้อกับผู้อื่น และปฏิบัติกับคนอื่นด้วยความรักอย่างดี เขาไม่ใช่คนขี้เหนียวในเรื่องเงิน และ ยังหวังอยู่เสมอว่าคนอื่นจะได้ประโยชน์มากกว่าตนเอง ในการเดินทางส่วนตัว ไม่ว่าจะในเรื่องงานหรือส่วนตัว เขาจะบินชั้นประหยัดเสมอ แต่สำหรับภรรยาและครอบครัวเขา เขาจะใช้เครื่องบินส่วนตัว ซึ่งเขาอธิบายว่า ภรรยาเขาเลี้ยงดูลูกหลายคนตลอดชั่วชีวิตของเธอ และให้หลายๆ สิ่งกับผม ขณะนี้สุขภาพเธอก็ไม่ดีเหมือนก่อน ผมจึงต้องดูแลเธออย่างดี
ชาร์ลีใช้เวลาตลอดชั่วชีวิตของเขาในการศึกษาสาเหตุของความล้มเหลวของคน ซึ่งทำให้เขามีความเข้าใจอย่างลึกซึ่งในความอ่อนแอในธรรมชาติของมนุษย์ เขาเชื่อว่าคนเราต้องมีวินัยกับตัวเองอย่างสูง และปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเพื่อเอาชนะความอ่อนแอที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด นี่คือสิ่งที่จำเป็นอย่างสูง นี่คือสิ่งจำเป็นในแง่ศีลธรรมในการดำรงชีวิต สำหรับคนอื่นชาร์ลีอาจดูเหมือนพระภิกษุ แต่สำหรับชาร์ลีแล้ว ขั้นตอนเหล่านี้มีเหตุผลและความสุขในตัว มันทำให้คนเราประสบความสำเร็จและมีความสุข
ชาร์ลีเป็นคนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ก็คุณลองคิดดูสิว่า ถ้ามังเจอร์และบัฟเฟตไม่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเช่นนี้ เขาจะสร้างผลงานให้กับ Berkshire ตลอด 50 ปีที่ผ่านมาโดยที่ไม่มีใครสามารถทำได้ในประวัติศาสตร์การลงทุนได้อย่างไร
ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผมรู้จักกับชาร์ลี ผมมักลืมไปเลยว่าเขาเป็นชาวอเมริกัน เขาออกจะคล้ายๆ กับบัณฑิต (Literati) สมัยจักพรรดิ์จีนที่ผมรู้จัก
หลังจากที่ระบบการสอบเข้าของบัณฑิต (จอหงวน) หมดไป หลายร้อยปีที่ผ่านมาจิตวิญญาณของระบบจอหงวนก็ได้หายไป โดยเฉพาะในสังคมการค้าในปัจจุบัน นักวิชาการจีนที่ยึดหลักของบัณฑิตจีน ยังคงสับสนกับคำว่าคุณค่าและอุดมคติของเขา ในสังคมการค้าที่วัฒธรรมเก่าแก่ได้สูญหายไป แต่หลักคิดของบัณฑิตยังคงใช้ได้และมีอยู่หรือไม่ ในสมัยราชวงศ์หมิงตอนปลาย ระบบทุนนิยมเริ่มแพร่กระจายในประเทศจีน พ่อค้าในสมัยนั้นได้นำความคิดในอุดมคติที่ว่า “นักธุรกิจกับหลักคิดแบบบัณฑิต” สมัยนี้แรงขับของตลาดการค้าได้มีอิทธิพลสูง แต่ผมคิดว่ายังมีความเป็นไปได้อยู่ที่ระบบในอุดมคติจะเป็นจริง
ชาร์ลีสามารถกล่าวได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดของ “นักธุรกิจที่มีหลักคิดแบบบัณฑิต” อย่างแรกชาร์ลีประสบความสำเร็จอย่างสูงในธุรกิจ อย่างไรก็ตาม จากการที่ได้ทำความรู้จักกับชาร์ลีผมพบว่า ชาร์ลีคือบัณฑิตที่มีศึลธรรม และปัญญา เขาอ่านได้ทุกเรื่อง และมุ่งมั่นในการปลูกฝังศีลธรรม และคำนึงถึงสังคม คุณค่าของชาร์ลีออกจากภายในสู่ภายนอก ปลูกฝังและพัฒนาตนเองจนสามารถเป็น “นักบุญ” ที่ช่วยเหลือผู้อื่นได้
ภายหลังจากที่ประสบความสำเร็จและมั่งคั่ง ชาร์ลียังคงอุทิศให้กับการกุศลและช่วยเหลือผู้อื่นในโลก เขาใช้ความรู้ในการที่จะประสบความสำเร็จ และไม่ต้องสงสัยเลยว่านี่คือต้นแบบสำหรับนักวิชาการจีน เขาใช้ความรู้อย่างเต็มที่และประสบความสำเร็จในธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์สูง สุด ในปัจจุบัน เศรษฐกิจการค้าชาวจีนที่เต็มไปด้วยจิตวิญญาณ นักวิชาการจีนจะสามารถเติมเต็มความคิดบัณฑิต และพัฒนาตัวเองไปสู่การเรียนรู้และปลูกฝังด้วยตัวเองจนประสบความสำเร็จได้ หรือไม่ ?
ชาร์ลีชื่นชมขงจื๊อเป็นอย่างมาก ผมยังคิดว่าถ้าขงจื๊อกลับชาติมาเกิดในสังคมอเมริกา ก็คงเป็นชาร์ลีนั่นเอง ถ้าขงจื๊อกลับมาเกิดในอีก 2000 ปีต่อมาในสังคมการค้าของจีน คำสอนก็คงจะประมาณว่า : จงใส่ใจในที่ที่ถูก ปลูกฝังศีลธรรมอันดี ปกป้องครอบครัว สะสมความมั่งคั่ง และช่วยเหลือโลก
ที่มา http://blog.enochko.com/2010/06/my-teacher-charlie-munger-english.html
แปลและเรียบเรียงโดยคุณ GrandSlam @ ThaiVI