ออมเงิน หรือออกรถ ก่อนดี

ถ้าเริ่มต้นทำงานได้ไม่นาน และไม่มีเงินเก็บมากนัก แนะนำให้ออมเงินไว้ก่อน อย่าเพิ่งรีบถอยรถมาใช้ ใช้ขนส่งสาธารณะไปก่อน

การซื้อรถ จะชะลอเป้าหมายการออมของเรา ให้ช้าลงอย่างมาก

ตัวอย่างเช่น

นาย A มีเงินเดือน 25,000 บาท แต่อยากได้รถขับไปทำงาน จึงกู้เงินมาซื้อรถราคา 320,000 บาท มีภาระต้องผ่อนเดือนละ 6,000 บาท เป็นเวลา 5 ปี และมีค่าน้ำมัน + ค่าประกัน + ค่าบำรุงรักษา อีก 2,000 บาท ต่อเดือน จากแผนที่จะออมเงินเดือนละ 10,000 บาท ทำให้นาย A สามารถออมเงินเพียงเดือนละ 2,000 บาท

ผ่านไป 5 ปี รถมูลค่าเหลือไม่ถึงครึ่งหนึ่ง ของราคาซื้อ แม้จะหมดภาระการผ่อนรถ แต่ก็ต้องใช้เงินมากขึ้น ในการบำรุงรักษารถเก่า

ผ่านไป 10 ปี นาย A จะมีเงินเก็บเพียง 600,000 บาท และได้รับดอกผลจากเงินออมปีละ 30,000 บาท หรือคิดเป็นผลตอบแทน เดือนละ 2,500 บาท

ส่วน นาย B ออมเงินในพันธบัตรรัฐบาล เดือนละ 10,000 บาท ตั้งแต่ปีแรก โดยเก็บออมทุกเดือน เป็นเวลา 10 ปี

สิ้นปีที่ 10 นาย A จะมีเงินเก็บมากถึง 1,500,000 บาท และได้รับดอกเบี้ยปีละ 75,000 หรือตกเดือนละ 6,250 บาท

นาย B สามารถนำเงินตรงนี้ ไปผ่อนรถ (ค่างวด 6,000 บาท) โดยไม่กระทบกับแผนการออมระยะยาว และเมื่อผ่านเวลาไป 20 ปี นาย B จะมีเงินเก็บกว่า 4,000,000 บาท และมีดอกผลปีละกว่า 200,000 บาท

ส่วนนาย A จะมีเงินเก็บเพียง 2 ล้านกว่าบาท น้อยกว่านาย B เกือบเท่าตัว

สมมติฐานนี้ ไม่นับโอกาสในการออมที่เพิ่มขึ้น จากการได้รับเงินเดือนที่สูงขึ้น และโอกาสในการลงทุนที่ดีขึ้น

ตัวอย่างเช่น ถ้านำเงินออม ไปลงทุนในกิจการที่ให้ผลตอบแทนใกล้เคียงพันธบัตรรัฐบาล และยังสามารถขอเครดิตภาษีได้ ผ่านไป 20 ปี นาย B จะมีเงินออมเพิ่มขึ้นอีกกว่า 1 ล้านบาท และได้รับดอกผล สูงถึง 300,000 บาท/ปี

เนื้อหาในบทความนี้ ส่วนหนึ่งได้มาจากหนังสือเรื่อง “ออมก่อน รวยกว่า”

ออมก่อนรวยกว่า

ถ้าใครสนใจวางแผนการออม เพื่ออิสระภาพทางการเงิน ในอนาคต ไม่ควรพลาดเล่มนี้ครับ