เศรษฐกิจไทย/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจแบบค่อยเป็นค่อยไปของไทย หรือไปไม่ค่อยเป็นและกำลังจะเป็นไปทำให้เกิดคำถามมากมายเกี่ยวกับอนาคตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งผมขอให้ความเห็นดังนี้ 1. เศรษฐกิจไทยย้ำแย่เหมือนกับวิกฤติปี 2540 (1997) สถานการณ์แตกต่างกันมาก และผมไม่เชื่อว่าครั้งนี้จะเกิดวิกฤติเช่นเดียวกับปี 1997 ในครั้งนั้นประเทศไทยใช้เงินเกินตัว ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด 8% ของจีดีพี ต้องกู้เงินต่างประเทศมาใช้จ่าย เมื่อเขาพยายามถอนเงินออก (บวกการถูกเก็งกำไรค่าเงินบาท) ทุนสำรองที่มีอยู่ 30,000 ล้านดอลลาร์ ก็ไม่พอกับหนี้ต่างประเทศประมาณ 80,000 ล้านดอลลาร์ ต้องขอกู้ไอเอ็มเอฟ โดยให้ไอเอ็มเอฟเข้ามาช่วยบริหารเศรษฐกิจประเทศ โดยใช้ยาแรง (ขึ้นภาษี ลดรายจ่ายภาครัฐและขึ้นดอกเบี้ย) สถาบันการเงินจึงล้มระเนระนาด และเงินบาทอ่อนค่าลงเป็น 50 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ ทำให้การส่งออกดีขึ้นผิดหูผิดตา และการนำเข้าหดตัวอย่างรุนแรง ในวิกฤตินั้นคนจนรวยขึ้น โดยเฉพาะเกษตรกร แต่คนรวยหมดตัวไปหลายราย ตอนจบการส่งออกคิดเป็นสัดส่วนของจีดีพีเพิ่มขึ้นจาก 35% ในปี 1996 มาเป็น 65% ในปี 2006 กล่าวคือการส่งออกเป็นหัวจักรในการฟื้นเศรษฐกิจและใช้คืนหนี้ต่างประเทศ นอกจากนั้น ก็พึ่งพาต่างชาติให้เข้ามาเพิ่มทุน (ช่วยเป็นเจ้าของ) สถาบันการเงินและบริษัทขนาดใหญ่ของไทย มาวันนี้สถาบันการเงินและบริษัทขนาดใหญ่ของไทยแข็งแรง หนี้ต่างประเทศประมาณ 120,000 […]