Top Performance เฉพาะกองทุนหุ้น ในปี 53

1 กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี ไฮ-ดิวิเดนด์ ฟันด์ (HI-DIV)” ของ บลจ.เอ็มเอฟซี +62.81%
2 กองทุนเปิดเค สตาร์หุ้นทุนคืนกำไร (K-STAR)” ของ บลจ.กสิกรไทย +62.18%
3 กองทุนเปิดอยุธยาหุ้นปันผล (AYFSDIV)” ของ บลจ.อยุธยา +61.80%
4 กองทุนเปิดกรุงศรีหุ้นแวลู (KFVALUE)” ของ บลจ.อยุธยา +61.17%
5 กองทุนเปิดทีแฟมเอควิตี้ (TFEQ)” ของ บลจ.กสิกรไทย +61.16%

ปี 53 ดัชนีตลาดหุ้นไทย (SET) บวกไป 47.80%

กองทุนหุ้นมีทั้งหมด 119 กองทุน

โดยมีกองทุนหุ้นอยู่ 27 กองทุน คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 22.69% ของกองทุนหุ้นทั้งหมดที่มีผลการดำเนินงานดีกว่าดัชนีตลาดหุ้นไทย

ที่เหลืออีก 92 กองทุน หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 77.31% ที่มีผลการดำเนินงานแพ้ดัชนีตลาดหุ้นไทย

กองทุนหุ้น (ทั้ง SET และ MAI) บริหารโดยมืออาชีพ แต่ผลการดำเนินงานแพ้ตลาดเป็นส่วนใหญ่

ถ้าดูย้อนหลังไปหลายๆ ปี มากกว่าครึ่งของกองทุนมืออาชีพเหล่านี้ แพ้ดัชนีตลาด

คล้ายๆ กับเคสในหนังสือ One Up On Wall Street ที่กองทุนมืออาชีพส่วนใหญ่ มีผลการดำเนินงานแพ้ดัชนี S&P

แต่กองทุนมือสมัครเล่น กลับทำผลงานได้ดีกว่า (ดีกว่ามากด้วย) ไม่เว้นแม้แต่เด็กประถม ที่ลงทุนแล้วได้ผลตอบแทนดีกว่ากองทุนมืออาชีพเหล่านี้

เหตุผลที่ Peter Lynch ให้ คือ

1. นักลงทุนทั่วไป มีข้อได้เปรียบกองทุน ในเรื่องข้อจำกัดต่างๆ เช่น ห้ามซื้อหุ้นมากกว่ากี่ % ของจำนวนหุ้นทั้งหมด, ห้ามซื้อหุ้นตัวใดตัวหนึ่ง มากกว่ากี่ % ของขนาดกองทุน, etc.

กฏพวกนี้ ทำให้ Peter Lynch พลาดโอกาสสำคัญๆ ในการเป็นเจ้าของบริษัทที่ยอดเยี่ยม เพราะไม่สามารถซื้อหุ้นบริษัทเติบโตเร็วพวกนี้ ในจำนวนมากเท่าที่ต้องการได้

2. ผู้บริหารกองทุนค่าตัวแพงจำนวน มาก รับรู้ข่าวสารมากเกินไป โดยเฉพาะข่าวร้าย เช่น สงครามอิรัก, วิกฤตอสังหาฯ, อัตราการว่างงาน, ภาวะการขาดดุลการค้า, etc. และตอบสนองต่อข่าวร้ายทันที โดยไม่สนใจมูลค่ากิจการ

เช่นในปี 1990-1991 ช่วงสงครามอิรัก ผู้จัดการกองทุนจำนวนมาก กลัวว่าจะเจอกับภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ กองทุนเทขายหุ้นทิ้งอย่างบ้าคลั่ง และถือเงินสดเอาไว้แทน

แต่สิ่งที่เกิดขึ้น กลับไม่ใช่การตกลงครั้งใหญ่ของตลาดหุ้น ดัชนี S&P วิ่งขึ้นไป 30% ดัชนี DJ ขึ้นไป 25% ส่วนหุ้นเติบโตขนาดเล็ก ขึ้นไปถึง 60%

“คุณจะพลาดโอกาสแบบนี้ ถ้าคุณติดตามข่าวสารมากเกินไป หรือให้ความใส่ใจแม้เพียงเล็กน้อย กับคำทำนายของผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียง”

“นักลงทุนรายย่อยเป็นจำนวนมาก คิดว่าตนเองไม่มีหวังที่จะแข่งขันกับอัจฉริยะที่จบ MBA และสามารถใช้เครื่อง Quotron (เครื่องมือทางการเงิน) พวกนี้ได้

แทนที่จะคิดสู้กับอัจฉริยะเหล่านี้ นักลงทุนรายย่อยจำนวนมาก ได้ยอมจำนน และนำเงินของพวกเขา ไปลงทุนในกองทุนรวม

อย่างไรกตาม ข้อเท็จจริงที่ว่า กว่า 75% ของกองทุนรวมเหล่านี้ มีผลงานแพ้ตลาด เป็นสิ่งที่พิสูจน์ว่า อัจฉริยะเหล่านี้ ก็ผิดพลาดได้เช่นกัน”