kachen_benjakul

สรุปความรู้หลักสูตรVI รุ่น4 (Part2 วิเคราะห์อุตสาหกรรม P’IH)

Part 2 : การวิเคราะห์อุตสาหกรรม บริษัทและผู้บริหาร (อ.คเชนท์ เบญจกุล)

Credit : earthcu @ ThaiVI
วันที่ 5 ตุลาคม 2556

1.Michael E Potter : 5 Force Model

1.1 Potential Entrants (การเข้ามาของคู่แข่งรายใหม่ๆ)
– หลักๆ ขึ้นอยู่กับ Barrier to entry หรือป้อมค่าย คูเมืองที่ใช้ในการป้องกันคู่แข่งขัน เช่นเงินทุน. Knowhow, Brandname, สัมปทาน หรือ Economy of scale
-ในบางธุรกิจทำแล้วมี owner value หรือทำแล้วมีความสุขใจ ก็จะทำให้มีคนสนใจมาทำเยอะ โดยอาจจะไม่ค่อยสนใจ return ของการลงทุน เช่น ร้านกาแฟ


-บางธุรกิจเป็นธุรกิจที่ทำแล้วปวดหัวหรือสภาพแวดล้อมไม่น่าอภิรมย์ก็จะทำให้ไม่ค่อยมีสนใจมาทำแม้ผลตอบแทนดี
-ธุรกิจที่ตลาดเติบโตสูงแต่ถ้า Barrier to entry ต่ำก็จะทำให้มีคู่แข่งเข้ามาเรื่อยๆ ทำให้ตลาดกลายเป็น red ocean
-บางธุรกิจ barrier to entry คือ economy of scale คือรายใหม่เข้ามาก็มีต้นทุนที่สู้ไม่ได้

1.2 Bargaining power of buyers (อำนาจการต่อรองของลูกค้า)
-ลูกค้ามีอำนาจต่อรองราคาได้แค่ไหน?
-ผู้ผลิตที่เป็น OEM มักจะมีอำนาจต่อรองกับลูกค้าต่ำ
-ผู้ ผลิตสินค้า Commodity แทบจะไม่มีอำนาจต่อรองกับลูกค้าเลย เว้นแต่ธุรกิจ commodity บางอย่างที่เกี่ยวข้องกับของกิน อาจจะพอสามารถสร้าง brand ขึ้นมาได้เช่นกัน
-ธุรกิจที่ลูกค้าไม่มีอำนาจต่อรอง มักจะขายสินค้าจำพวก Brandname เช่นธุรกิจ louis Vuitton ที่ลูกค้าต้องต่อคิวเพื่อเข้าซื้อสินค้าเป็นต้น
-ธุรกิจที่ลูกค้ามี อำนาจต่อรองราคามากๆ มักจะมีระยะเวลาของลูกหนี้การค้าค่อนข้างนาน เช่นการขายของเข้าห้างสรรพสินค้า หรือร้านค้าปลีกต่างๆ ทำให้การเติบโตของรายได้จำเป็นจะต้องใช้ working cap ที่สูง ในทางตรงกันข้ามสินค้าที่รับแต่เงินสดแสดงว่ามีอำนาจต่อรองกับลูกค้าสูงมาก
-บริษัทที่มีอำนาจต่อรองกับผู้ซื้อ จะมีความสามารถในการปรับราคาตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้นได้ดีกว่า ทำให้ Margin มีความสม่ำเสมอ

1.3 Bargaining power of supplier (อำนาจการต่อรองของ Supplier)
-บริษัท ที่มีอำนาจการต่อรองกับ Supplier สูง จะทำให้มีระยะเวลาการจ่ายเงินหรือ credit term ยาว ทำให้การเติบโตของยอดขายไม่ต้องใช้ working cap มาก และเมื่อต้นทุนสูงขึ้น Supplier มักจะช่วยแบกภาระให้ด้วย
ในขณะที่บริษัทที่มีอำนาจต่อรองกับ Supplier ต่ำจะมี credit term ที่สั้น
-การ ดู bargaining power of supplier และ buyer บริษัทไหนมี A/R (Account Receivable)มากกว่า A/P (Account Payable) มากๆ แสดงว่า bargaining ไม่ดี แต่ถ้าบริษัทไหนมี A/R น้อยกว่า A/P มากๆแสดงว่า bargaining สูง

-Buy Commodity , Sell Brand (Warren Buffett) ในความหมายคือการซื้อหุ้นที่ซื้อวัตถุดิบที่เป็น Commodity แต่ขายสินค้าที่มี Brand เช่น Coca Cola

1.4 Substitutes (สินค้าทดแทน)
-เป็น การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก หุ้นที่เราลงทุนจะมีสินค้าหรือบริการอะไรมาทดแทนได้ โดยบริษัทที่เกี่ยวข้องกับ Technology มักจะมีความเสี่ยงในเรื่องนี้ ยกตัวอย่างเช่น โทรศัพท์มือถือมาทดแทนโทรศัพท์บ้าน, Tablet มาทดแทน Notebook , กล้องดิจิตอลมาทดแทนกล้องแบบฟิล์ม
-ในบางครั้งเป็นการทดแทน กันเนื่องจาก behavior หรือ lifestyle change เช่น การทานอาหารนอกบ้าน ทดแทนการทำอาหารทานเอง, เดินทางโดยรถไฟฟ้า ทดแทนรถยนต์หรือ taxi

1.5 Industry Rivalry
-การแข่งขันมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนผู้เล่นซึ่งจำนวนผู้เล่นขึ้นอยู่กับ barrier to entry
-การ แข่งขันขึ้นอยู่กับว่าเป็นสินค้าหรือบริการที่ลูกค้ามี price sensitivity มากน้อยเพียงใด โดยที่สินค้าที่มี price sensitivity สูงมักจะมีการแข่งขันด้านราคาที่มากซึ่งจะส่งผลต่อ Profit Margin อาจจะไม่สม่ำเสมอ

2.พึงระมัดระวังหุ้นวัฏจักรที่ Gross Profit หรือ Net Profit สูงกว่าปกติเมื่อเทียบกับในอดีตที่ผ่านมา

ในหลายๆcase อาจจะเป็น Too good to be true

3.การนำ 5 Force มาประยุกต์ใช้กับ DCF
-อำนาจ การต่อรองกับ Supplier สูง ทำให้ credit term ยาว และเติบโตโดยใช้ working cap น้อย เวลาทำ DCF ค่าที่ได้จะสูง ซึ่งจะตรงกันข้ามกับบริษัทที่มีอำนาจต่อรองกับ Supplier ต่ำ ทำให้อายุลูกหนี้การค้ายาว การเติบโตต้องใช้ working cap สูง ซึ่งเวลาคิด DCF ค่าที่ได้จะต่ำ และอาจจะถูกต่อรองราคาทำให้ margin ไม่แน่นอนในอนาคต
-การที่ธุรกิจมี barrier to entry ต่ำ และมีการแข่งขันสูง มีโอกาสที่จะมีการแข่งขันด้านราคา ทำให้ความแม่นยำในการทำนายอนาคตลดลง
-ใช้ DCF เป็น Guide แต่อย่าไปเชื่อมั่นมาก โดยเฉพาะธุรกิจที่มีความไม่แน่นอนในแง่ Gross margin, Net Margin
-ธุรกิจที่กำไรเป็น sine curve ไม่สามารถทำ forecast กำไร ทำให้ไม่สามารถทำ DCF ได้

4.ไม่มีหมอดูคนไหนทำนายชีวิตตัวเราได้ดีเท่าตัวเราเอง

5.หุ้นที่จะเติบโตได้มากกว่าค่าเฉลี่ย

5.1 โตมากกว่า GDP โดยอยู่ในกลุ่มสินค้าที่หากรายได้เพิ่ม คนก็จะใช้สินค้าและบริการเพิ่มอันเนื่องมาจากการเพิ่มปริมาณการใช้ หรือคนที่ไม่เคยใช้ก็จะซื้อเพิ่ม

5.2. Market Share Gain
5.2.1 Gain from Traditional โดยเป็นการแย่ง Share จากรูปแบบการค้าแบบเดิม เช่น โชห่วย หรือตลาดสด
5.2.2 Gain from Competitor เช่นการที่รายใหญ่ใช้ประโยชน์จาก Economy of Scale ในการแย่งส่วนแบ่งการตลาดจากรายย่อย โดยบางครั้งการที่แย่งส่วนแบ่งมาได้ วันหนึ่งก็อาจจะถูกแย่งกลับได้เช่นกัน

5.3 Increase Penetration
โดย หาหุ้นที่มี penetration rate ต่ำ (สัดส่วนการใช้ต่อจำนวนประชากรที่ต่ำ) เมื่อเทียบกับจำนวนประชากร และมีโอกาสที่จะมีการเพิ่มปริมาณการใช้หรือเพิ่มสัดส่วนการใช้ต่อจำนวน ประชากรในอนาคต

5.4 Megatrend
ยกตัวอย่างเช่นการดูแลสุขภาพ, Aging Society, การรับประทานอาหารนอกบ้าน, AEC, การเดินทางที่ถูกลง เป็นต้น

6.พึงระวังพฤติกรรมแบบฝูง ที่ตัดสินใจเลียนแบบกันจนเป็นกระแส เช่นกระแสตื่นทอง, Case หุ้น South Sea ในอังกฤษ, ดอกทิวลิปในฮอลแลนด์, จตุคามรามเทพ ซึ่งมีโอกาสที่คนที่มาลงทุนในตลาดหุ้นจะเป็นเช่นเดียวกันได้
(ปล.สามารถดูรายละเอียด Case บริษัท South Sea ได้จาก http://www.settrade.com/blog/nivate/2012/04/10/1110 )

7.ในชีวิตของการลงทุนนั้น ไม่มีสูตรสำเร็จ หากอยู่ที่การที่เราเรียนรู้ ใฝ่รู้ รวมไปถึงประยุกต์ใข้ความรู้อยู่ตลอดเวลา

8.การวิเคราะห์ผู้บริหาร
-โดย ดูจากปริมาณ %การถือครองของเจ้าของ โดยถ้าเป็น Wealth หลักของเจ้าของ (%การถือครองของเจ้าของสูง รวมทั้งไม่ได้มีหุ้นกระจายในบริษัทอื่น) ก็จะทำให้มีแรงจูงใจในการทำให้บริษัทเติบโตมากกว่าบริษัทที่ไม่ได้เป็น wealth หลักของเจ้าของ
-เราสามารถที่จะตรวจสอบพฤติกรรมในอดีต รายการระหว่างกัน การเอาเปรียบผู้ถือหุ้นจากการ search ชื่อเจ้าของหรือผู้บริหารใน Google

9.การวิเคราะห์ค่าเสื่อมราคา แบ่งเป็น 3 ประเภท
9.1 เมื่อตัดค่าเสื่อมหมดต้องซื้อใหม่ทดแทน เช่น Computer, แม่พิมพ์ที่ผลิตตามรุ่นของสินค้า ซึ่งมองว่าค่าเสื่อมแบบนี้นั้นไม่เป็น Free cash flow เพราะจำเป็นที่ต้องสำรองเงินเพื่อใช้ในการซื้อใหม่เพื่อทดแทนสินทรัพย์
9.2 ตัดค่าเสื่อมหมดแล้วยังใช้ได้อีกระยะหนึ่ง เช่น เครื่องจักรบางประเภท เรือ ส่วนตกแต่งร้านค้า แต่อาจที่จะต้องมีการใช้จ่ายซ่อมแซมปรับปรุงมากขึ้น
9.3 ตัดค่าเสื่อมหมดยังใช้งานได้อีกนาน เช่นอาคาร ซึ่งมีความเป็น Free cash flow ที่สูง เพราะตัดค่าเสื่อมหมดก็ยังใช้งานอาคารได้อยู่เพียงแต่อาจต้องมีบางส่วนที่ ต้อง renovate ปรับปรุง

10.การวิเคราะห์การลงทุนในสินทรัพย์ (Capex)
Capital Expenditure มี 2 แบบ 1.)Capex for maintain competitiveness เช่นการเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อทดแทนที่หมดอายุ, การ renovate สถานที่ 2.)Capex for growth เช่นการซื้อเครื่องจักรใหม่, ขยายสาขา
โดยถ้าเป็น แบบ Capex for maintain competitiveness สูงๆเมื่อเทียบกับกำไรสุทธิของบริษัทจะทำให้บริษัทมีการจ่ายปันผลต่ำและมัก จะมีหนี้ตลอดเวลา
ในกรณีที่บริษัทมีการเติบโตโดยใช้ Capex ต่ำจะทำให้มีความเสี่ยงในการเพิ่มทุนต่ำและโตโดยยังสามารถที่จะจ่ายปันผลในระดับสูงได้

11.การวิเคราะห์หุ้นจากความรู้สึกของตัวเองและคนรอบข้าง
ควรที่จะต้องระวังให้มาก ถ้าเราเป็นคนที่ฐานรายได้ประจำสูงเพราะอาจจะทำให้ความรู้สึกของตัวเรามี โอกาสที่จะห่างไกลจากความรู้สึกของคนในประเทศส่วนใหญ่ ซึ่งจะทำให้เราพลาดหุ้นที่จับตลาด mass ไปได้

12.การวิเคราะห์หุ้นค้าปลีก
-Same Store Sale เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะเป็นตัวบอกกำไรของแต่ละสาขาในระยะยาว เพราะค่าแรง ค่าเช่า ขึนปีละ 3-5% ทุกปี
-สิ่ง ที่คล้ายกันคือขายเงินสด แต่ต่างกันที่ระยะเวลาสินค้าคงคลังขึ้นกับประเภทสินค้าที่ขาย และ credit term ซึ่งสะท้อนอำนาจการต่อรอง

13.การวิเคราะห์หุ้นโรงพยาบาล
-รพ.เป็น ธุรกิจที่ไม่สามารถ capture ลูกค้าในบริเวณนั้นได้ทั้งหมดในปีแรกๆที่เปิด ดังนั้นการเปิดโรงพยาบาล แห่งใหม่จึงมักที่จะมีโอกาสขาดทุนในช่วงระยะเวลา 2-3 ปีแรก
-Growth ของธุรกิจมาจาก 2 ทาง คือ 1.จำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น 2.รายได้ผู้ป่วยที่เพิ่มซึ่งมีโอกาสมาจากการปรับราคาและความซับซ้อนของโรค

14.การวิเคราะห์หุ้นอาหาร
-หากเป็นร้านอาหาร Cash flow cycle จะคล้ายๆหุ้นค้าปลีก
-กลุ่มที่ขายให้ end user จะมี pricing power สูงกว่า
-หุ้นที่ขายอาหารเป็น Commodity จะมีกำไรที่ผันผวนตามราคาสินค้า

15.ปัจจัยฤดูกาล
หุ้น หลายๆตัวมีรายได้ในแต่ละไตรมาสที่ไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับผลของฤดูกาล เพราะฉะนั้นการนำรายได้หรือกำไรสุทธิที่ได้ ของ Q1 มาคูณ 4 หรือของครึ่งปีแรกมาคูณ 2 อาจจะก่อให้เกิดความคลาดเคลื่อนได้
โดยแม้ว่า Q4 ของหลายๆธุรกิจจะมีรายได้มากที่สุด แต่กำไรใน Q4 อาจจะไม่ได้ดีที่สุด เพราะในหลายๆบริษัทมักจะบันทึกรายจ่ายต่างๆใน Q4

16.หุ้นวัฏจักร
การ ใช้ P/E ในการหาราคาเป้าหมายของหุ้นวัฏจักรนั้นเป็นวิธีที่อันตรายมาก โดยที่คนติดหุ้นพวกนี้มักจะเป็นคนที่ซื้อหุ้นเพราะเหตุผลว่า P/E ต่ำ แต่บังเอิญเป็น EPS ในปีที่ peak

17.สร้างนิสัยการเป็น VI

17.1 ใช้เวลากับหน้าจอ(ราคาหุ้น)ให้น้อย

17.2 อ่านให้มากไม่ว่าจะเป็นความรู้เกี่ยวกับบริษัท, การเงิน, เศรษฐกิจ, สังคมศาสตร์, พฤติกรรมมนุษย์, ประวัติศาสตร์

17.3 Scuttlebutt (ปฏิบัติการสืบเสาะเจาะข้อมูลเพื่อการลงทุนของ “ฟิลลิป ฟิชเชอร์) โดยถามให้มาก, ลองใช้สินค้าดู, เดินห้าง, สำรวจพฤติกรรมมนุษย์

17.4 ถ้าได้มีโอกาสไปท่องเที่ยวต่างจังหวัด หรือต่างประเทศ เราควรที่จะเรียนรู้จากการท่องเที่ยวเช่น Trend ในเมืองนอกที่มีโอกาสที่ในเมืองไทยจะเป็นแบบเดียวกันในอนาคต

(สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในหัวข้อคำแนะนำสำหรับคนที่อยากเป็น VI ครับ (โดยคุณ Invisible hand) จาก viewtopic.php?f=35&t=24502 )

18.ข้อคิดที่ฝากไว้ของพี่คเชนท์

18.1 บางทีการเดินขึ้นเขา ความสุขระหว่างทางจะสนุกกว่าเมื่อถึงยอดเขาแล้ว (อย่ากดดันกับเป้าหมายมากเกินไป)

18.2 อิสรภาพทางการเงินไม่ได้หมายความว่าจะไม่ต้องทำงานตลอดไป ถ้าเรายังมีความสุขกับงานที่ทำและสังคมที่ทำงานอยู่แล้ว

18.3 ความสุขในชีวิตอาจจะไม่ได้แปรผันตามจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น หรือ port ที่ใหญ่ขึ้น

18.4 การให้โอกาสคนนั้นสำคัญมากกว่าการให้เงิน ในสังคมของเรานั้นยังมีคนที่ขาดโอกาสอีกมาก

18.5 หน้าที่การสร้างชาติ นั้นอยู่ที่พวกเราทุกคน พวกเราทุกคนนั้นเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสังคมให้ดีขึ้น

18.6 “พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง
โททนต์เสน่งคง สำคัญหลายในกายมี
นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์
สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา”

วัวควายและช้าง เมื่อตายลงแล้วยังเหลือเขาหนังและงาไว้ใช้ประโยชน์
ส่วนมนุษย์ เมื่อตายทุกสิ่งในร่างกายสิ้นไป เหลือทิ้งไว้แต่คุณความดีประดับไว้ในโลกหรือความชั่วให้ผู้คนกล่าวขาน