ลำดับเหตุการณ์ที่สำคัญของการประมูลใบอนุญาตให้บริการระบบ 3G
- – เดิมทีนั้นผู้ที่มีอำนาจกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมในประเทศไทยมี 3 องค์กรด้วยกัน ได้แก่ กรมไปรษณีย์โทรเลข ซึ่งกระทรวงคมนาคม(มีสถานะเป็นหน่วยงานราชการ), องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคม) และการสื่อสารแห่งประเทศไทย (มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคม) โดยที่ทั้งสามหน่วยงาน ยังให้บริการด้านโทรคมนาคมด้วย
- -ภายหลังรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 กำหนดให้แยกการกำกับดูแลออกจากการให้บริการโทรคมนาคมส่งผลให้เกิดการก่อตั้ง คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช. หรือ NTC) ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระที่ไม่ขึ้นกับรัฐบาล
- -มีการกำหนดให้กรมไปรษณีย์โทรเลข ถูกย้ายมารวมอยู่กับ กทช. และแยกหน่วยงานด้านไปรษณีย์ ไปเป็นบริษัท ไปรณีย์ไทย จำกัด
- – ขณะเดียวกันได้ทำการแยกองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย แปรรูปเป็น บริษัท ทีโอที จำกัด มหาชน (TOT)เมื่อวันที่1 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 โดยมีหน้าที่ให้บริการโทรศัพท์ภายในประเทศ
- -ทางด้านการสื่อสารแห่งประเทศไทย ถูกแปรรูปเป็นบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (CAT) ซึ่งมีกระทรวงการคลังถือหุ้น 100% โดยมีหน้าที่ให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ และการสื่อสารชนิดอื่นๆ เช่น อินเทอร์เน็ต
- -ส่วนหน้าที่ในการกำกับดูแลและจัดสรรคลื่นความถี่ถูกโอนย้ายไปอยู่กับ กทช ทั้งสองบริษัททำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคมเพียงอย่างเดียว
- – แต่เดิมการจัดสรรกิจกรรมโทรคมนาคมในประเทศไทยใช้ระบบสัมปทานซึ่งมีองค์กรที่ ผูกขาดในประเทศไทยเพียง 2 องค์กรเท่านั้นนั่นคือ TOT ( ได้รับค่าสัมปทานการใช้คลื่นความถี่จาก AIS ) และอีกองค์กรหนึ่ง คือ CAT ( ได้รับสัมปทานการใช้คลื่นความถี่จาก DTAC และ TRUE)
- -ต่อมารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ซึ่งมุ่งเน้นการตรวจสอบโดยหน่วยงานอิสระของรัฐซึ่งได้จัดตั้งขึ้นตามบท บัญญัติใน มาตรา 40 จึงเป็นที่มาของการยกร่างและประกาศใช้กฎหมาย พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุ โทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 อันนำมาซึ่ง องค์กรอิสระที่ชื่อว่า กทช (คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนระบบสัมปทานคลื่นความถี่มาเป็นระบบ “ใบอนุญาต” หรือ License แทน
- -สำหรับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ TOTและ CAT ในฐานะผู้กำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมในขณะนั้น ได้เปิดให้เอกชนประมูลคลื่นความถี่สำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วย
- -ในวันที่ 3 ตุลาคม 2545 ซึ่งมี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการประกาศปฏิรูประบบราชการไทยใหม่ โดยตั้งกระทรวงใหม่ๆ เพิ่มเติม หลายกระทรวงและหนึ่งในนั้น คือ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือที่เรียกกันติดปากว่า กระทรวงไอซีที(ICT) โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดรวมถึงบริษัทใหม่ทั้งสามแห่ง ถูกย้ายมาสังกัดกระทรวงไอซีทีแทนกระทรวงคมนาคมเดิม
- – ตามแผนการประมูลระบบ 3G ของ กทช. กำหนดให้ในช่วงกลางปี 2552 จะออกใบอนุญาต 4 ใบ โดยให้ผู้ประกอบการรายเก่า 3 ใบ ซึ่งได้แก่ AIS DTAC และTRUE และให้ผู้ประกอบการรายใหม่อีก 1 ใบ
- -อย่างไรก็ตาม ตามเงื่อนไขของ กทช. แล้ว TOT และ CAT ซึ่งปัจจุบันอยู่ในรูปบริษัทของรัฐ จึงไม่มีสิทธิ์เข้าร่วมประมูล ซึ่งทำให้กระทรวงไอซีทีในฐานะผู้ดูแลบริษัททั้งสองไม่พอใจ และเข้าเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรีให้ กทช. เปลี่ยนกฎเกณฑ์ แม้ว่าตามเจตนารมณ์ในการจัดตั้ง กทช. ขึ้นมาเพื่อให้เป็นองค์กรอิสระที่ปราศจากการครอบงำจากการเมือง ซึ่ง กทช. อาจไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนกฎเกณฑ์ก็ได้ เนื่องจากไม่ได้อยู่ใต้อำนาจของรัฐบาล
- – ต่อมาเกิดการรัฐประหารในเดือนกันยายน พ.ศ.2549 ทำให้ได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับ พ.ศ.2550 โดยในรัฐธรรมนูญฯฉบับปี50 ได้ระบุว่าให้เหลือองค์กรที่ดูแลจัดสรรเพียงหน่วยงานเดียว ทำให้ พรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ ฯ ข้างต้นนั้นขัดกับรัฐธรรมนูญฯฉบับปี50 ที่ระบุว่าต้องมี 2 หน่วยงาน นอกจากนี้ ดังนั้น รัฐบาลจึงต้องรีบเร่งสรรหา กสทช. ขึ้นมาใหม่ แต่ก็ติดปัญหาทั้งในเรื่องที่ กสช. ยังไม่ได้ตั้งขึ้นมาก่อนหน้านี้
- -รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 และ พ.ศ.2550 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโทรคมนาคมนั้น มีเนื้อหาไม่ต่างกันมากนัก โดยฉบับปี 2540 กำหนดให้มีองค์กรอิสระมาดูแลกิจการวิทยุโทรทัศน์และโทรคมนาคม จึงได้มีการจัดตั้ง กทช. และ กสช. ขึ้นมา ส่วนฉบับปี 2550 กำหนดให้มีองค์กรอิสระเพียงองค์กรเดียว ดังนั้น จึงมีแนวโน้มที่จะต้องรวม กทช. และ กสช. เป็นหน่วยงานเดียวกัน
- – อีกปัญหหนึ่งของระบบ 3G ที่เกิดขึ้นคือ การย้ายฐานลูกค้าเดิมจาก 2G ภายใต้สัมปทานเก่า มายัง 3G ภายใต้ระบบใบอนุญาตแบบใหม่ของ กทช. เพราะตามสัมปทานเดิมนั้น บริษัทเอกชนจะต้องจ่ายค่าสัมปทานคิดเป็น 20-25% ของรายได้ต่อปีให้กับ TOT และ CAT ในขณะที่ใบอนุญาตใหม่ของ กทช. ต้องจ่ายแค่ 6% ของรายได้ต่อปี ซึ่งคิดเป็นเงินหลายหมื่นล้านบาท ถ้าผู้ให้บริการโทรศัพท์ 2G ในปัจจุบัน สามารถย้ายลูกค้าไปใช้เครือข่าย 3G ได้ ก็จะทำให้รายได้ของTOTและ CAT จากค่าสัมปทานลดลงไปมากจนถึงขนาดขาดทุนได้เลย
- – ดังนั้น TOT จึงพยายามยังยั้งการเปิดประมูลระบบ 3G ของ CAT ที่จะมีขึ้นในวันที่ 20 กันยายน 2553ให้ล้มไม่เป็นท่า โดยการฟ้องศาลปกครองว่า กทช. ไม่มีสิทธิในการจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับ 3G เพราะว่า กทช คือ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ สามารถจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับการโทรคมนาคมได้อย่างเดียว แต่ว่า 3G นั้นเป็นเทคโนโลทีที่สามารถส่งภาพ(โทรทัศน์) และเสียง(วิทยุ)ได้ด้วย ดังนั้น ต้องเป็น กสทช. (คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) เท่านั้นจึงจะมีสิทธิจัดการประมูลเท่านั้น
- – ทั้งนี้ เหตุผลอีกประการหนึ่งที่TOT ทำการคัดค้าน อาจเพราะ กลัวจะเสียผลประโยชน์ส่วนใหญ่ที่มี เพราะในปัจจุบัน TOT ผูกขาดอินเตอร์เน็ตของชนบทแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งถ้ามีระบบ 3G ขึ้นมา อาจทำให้ TOT ขาดรายได้จำนวนมหาศาล
- -เมื่อ กทช ทำการผลักดัน การประมูลคลื่น 3G อย่างเต็มที่ เพราะการประมูลจะนำมาถึงการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรมของแต่ละบริษัท สังเกตให้ดีว่า ตอนนี้ถึงแม้ TOT หรือ CAT จะเป็นบริษัทเอกชนแล้ว แต่ก็ยังได้เปรียบบริษัทอื่นๆที่ต้องจ่ายค่าสัมปทานให้อยู่
- -ศึกชิงคลื่นระบบ 3G ในรอบแรกตามกรอบเดิมของ CAT มุ่งหวังต้องมีผู้พ่ายแพ้ 1 ราย เพราะตามเงื่อนไขการประมูลจะให้ใบอนุญาตได้เพียง 2 ใบ จากผู้ให้บริการเอกชนรายใหญ่ในประเทศไทยซึ่งมีอยู่ 3 ราย แต่ทุกรายก็พร้อมเสี่ยงและสู้บนราคาเริ่มต้นประมูลที่ 1.28 หมื่นล้านบาท
- – ต่อมา กทช. รุกหน้าการประมูลโดยได้ประกาศให้บริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์ค่าย DTAC , AIS และ TRUE เข้าร่วมประมูลใบอนุญาตการให้บริการ 3G ได้ ทั้งนี้ กทช.จะเปิดรับเอกสารในวันที่ 30 สิงหาคม 2553 นี้ โดยจะเปิดให้เอกชนรับฟังรายละเอียดในการกรอกข้อมูลใบสมัคร วันที่ 25-26 สิงหาคม 2553 จากนั้นวันที่ 15 กันยายน 2553 จะประกาศผู้ผ่านคุณสมบัติเบื้องต้นก่อนเข้าร่วมประมูลราคาในปลายเดือน กันยายนต่อไป ในขณะที่ผู้จัดการฝ่ายคดีของ CAT กล่าวว่า “หากศาลให้ไต่สวนฉุกเฉินและมีคำสั่งคุ้มครองอย่างใดอย่างตามที่ร้องขอ กทช.ก็ไม่สามารถจัดประมูลใด ๆ ได้”
- – วันที่ 16 กันยายน 2553 ศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวในคดีที่ CAT ยื่นฟ้อง สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ว่า ไม่มีอำนาจในการเปิดประมูลใบอนุญาต 3G ตามรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 เนื่องจากทำให้ CAT สูญเสียรายได้จากสัมปทานโครงข่ายโทรศัพท์ พร้อมขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวและพิจารณาไต่สวนฉุกเฉิน ซึ่งเป็นผลให้การเปิดประมูลใบอนุญาตโครงข่ายโทรศัพท์ระบบ 3G ที่กำลังจะมีขึ้นต้องถูกระงับไปอย่างไม่มีกำหนด
- -อย่างไรก็ตาม สัญญาสัมปทานโทรศัพท์มือถือ 2G ที่บริษัทเอกชนทั้งสามแห่งทำกับ TOT CAT (ซึ่งก่อนหน้านั้นเป็นรัฐวิสาหกิจ) ยังคงอยู่ตามกำหนดเดิม แต่ว่าอำนาจในการจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับการสื่อสารนั้นอยู่ที่ กทช แทน
- -กทช.จึงได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวต่อศาลปกครองสูงสุด โดยศาลปกครองสูงสุดรับคำอุทธรณ์ของ กทช. ที่ขอให้ยกเลิกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลปกครองชั้นต้นที่ให้ระงับการ ประมูลใบอนุญาต 3จี โดย CAT ซึ่งเป็นผู้ถูกฟ้องคดีอุทธรณ์มีกระบวนการแก้ต่างถึงวันที่ 22 กันยายน 2553
- -วันที่ 23 กันยายน 2553 ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 379/2553 กรณีที่ กทช. ยื่นอุทธรณ์เพื่อขอทุเลาคำสั่งศาลปกครองกลางที่ให้ระงับการประมูลระบบ 3G ชั่วคราว โดยศาลปกครองสูงสุดมีคำตัดสินให้ยืนตามคำสั่งของศาลปกครองกลาง ที่คุ้มครองชั่วคราว ให้ กทช. กระทำการระงับการเปิดประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G
- -ทางด้านความคิดเห็นของผู้ให้บริการเอกชน 3 ค่ายมือถือต่างผิดหวังที่การประมูลใบอนุญาตใหม่ที่ต้องสะดุดลงอย่างกะทันหัน ซึ่งหากการประมูลต้องหยุดลง แล้วไปรอ กสทช.ซึ่งอาจต้องใช้เวลาอีก 3-4 ปีกว่าที่จะมีบริการ 3G ถือเป็นเรื่องที่น่าเสียดายมาก ประเทศไทยจะล้าหลังมาก จากปัจจุบันเป็นประเทศเกือบสุดท้ายในภูมิภาคนี้ที่ยังไม่มีบริการ 3G ถือเป็นความล้าหลังของประเทศ
- -การมีใบอนุญาต 3G ไม่ได้มีความหมายแค่เปิดโอกาสให้มีการนำเทคโนโลยีใหม่มาพัฒนาบริการให้ดี ขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นการเปลี่ยนระบบธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมไทยจากระบบ “สัมปทาน” เดิมไปสู่ระบบใบอนุญาต (License) ซึ่งน่าจะมีต้นทุนที่ถูกกว่า
- -นอกจากนั้น การเริ่มต้นแข่งขันกันบนพื้นฐานกฎกติกาเดียวกัน คือสิ่งที่ค่ายมือถือทุกรายต้องการเห็น หลังจากมีปัญหาจากความไม่เท่าเทียมกันของสัญญาสัมปทานเดิม ซึ่งจริงอยู่ว่าการเปิดประมูลระบบ 3G ย่อมมีผลกระทบต่อทั้ง TOT และ CAT โดยตรง เพราะรายได้จากสัมปทานที่เคยได้รับปีละหลายหมื่นล้านอาจต้องหายวับไปภายใน เวลาอันรวดเร็ว แต่ไม่เร็วก็ช้าหากต้องการอยู่รอดในระยะยาวทั้งคู่จำเป็นต้องปรับปรุง เปลี่ยนแปลงองค์กรให้มีประสิทธิภาพพร้อมแข่งขันให้ได้อยู่ดี
- -อีกด้านนึง เพราะว่าการประมูล 3G ของCAT ล่าช้าและมีปัญหามากมาย ทำให้แต่ละบริษัทก็ต้องหาทาง 3G ของตัวเองกัน
- -บริษัท DTAC ดูเหมือนจะได้เปรียบกว่าบริษัทอื่น เนื่องจากว่ามี 2 คลื่น ตลอดจนระยะเวลาที่เหลืออยู่ของสัมปทานก็นานพอจะทำกำไรได้ จึงเริ่มทำระบบ 3G ด้วยคลื่น 850MHz (ส่วนในระบบ 2G ส่งในสัญญาณในคลื่น 1800MHz) แต่กระนั้น ก็ได้เกิดปัญหากับ กสท. มากมาย ตัวอย่างเช่น DTAC ทำเรื่องขอพิจารณาให้ DTAC อัปเกรดความถี่เดิมเพื่อให้บริการ 3G แต่เรื่องก็ค้างมาตั้งแต่ปี 2551 จนถึงปัจจุบันนี้ การขอให้ กสท. upgrade เครือข่ายของ กสท. เองเป็น HSPA (สถานี 850MHzของ กสท.เป็น CDMA) การขอเพิ่มสถานีและทดลองเครือข่าย HSPA เพิ่ม(ของ DTAC เอง) ก็ไม่ได้รับการอนุมัติ ทำให้บริษัท DTAC ไม่สามารถขยายเครือข่าย 3G ได้อย่างที่ควร ทั้งๆที่มีสิทธิในคลื่นนี้อยู่เต็มที่
- -ส่วนทางบริษัท Truemove แม้จะไม่ได้มีสิทธิในคลื่น 850 MHz แต่ CAT ก็อนุญาติให้ Truemove เอาคลื่นไปใช้ทดลอง 3G ได้ และมีการขออนุุญาติ กทช ให้ขยับคลื่นความถี่ 850 MHzให้บริษัท Truemove นำไปอัปเกรดให้บริการ 3G เช่นเดียวกับดีแทค ซึ่งนี่น่าจะเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เพราะCAT ไม่สามารถจัดสรรคลื่นความถี่แล้ว ส่วน กทช. ก็ไม่มีอำนาจจัดสรรเหมือนกัน (ตามที่ กสท ฟ้องว่าต้องเป็น กสทช.) นอกเสียจากนั้น Truemove ยังใช้คลื่นนอกพื้นที่ที่ตกลงกับ CAT ไว้ ทำให้CATเองก็ฟ้อง Truemove เป็นคดีความอีก
- -ส่วนทางบริษัท AIS ก็ยังไม่แน่นอนเหมือนกันว่าตกลงจะไป 3G แนวทางใด ตอนนี้ AIS ทำอยู่ 2 แนวทาง คือ Upgrade คลื่น 900MHz บางส่วนของตัวเอง ให้เป็น 3G (แต่ไม่รู้จะคุ้มการลงทุนหรือไม่เพราะสัมปทานจะหมดอายุปี 2558 นี้แล้ว ) และ อีกทางนึงคือทำ MVNO กับ TOT
- อย่าง ไรก็ตาม สำหรับการเตรียมการเพื่อเปิดประมูลใบอนุญาต 3G ที่ผ่านมา กทช.ได้ใช้งบประมาณเตรียมการไปแล้วมากกว่า 50 ล้านบาท ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า ไม่ทราบว่ากฎหมายในการสั่งคุ้มครองชั่วคราวที่มีคำสั่งออกมามีรายละเอียด อย่างไร แต่ยืนยันว่านโยบายของรัฐบาลยังคงผลักดันให้คนไทยได้ใช้โครงข่าย 3จี ยืนยันว่า กทช.จะชี้แจงต่อศาลได้ในเรื่องที่เกิดขึ้น และมั่นใจว่า กทช.จะสามารถเปิดประมูลใบอนุญาต 3G ได้อนาคตอันใกล้
- -14 ธันวาคม 2553 TOT ประกาศเปิดขายซองประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ทั่วประเทศมูลค่า 1.9 หมื่นล้านบาท 14-27 ธันวาคม 2553 นี้ ที่สำนักงานใหญ่ TOT แจ้งวัฒนะ โดยกำหนดยื่นซอง 10 มกราคม 2554 และเคาะราคา e-Auction ในวันที่ 28 มกราคม 2554 คาดว่าจะสามารถทำสัญญาได้ประมาณวันที่ 15-18 กุมภาพันธ์ 2554 นี้
- -ต่อมา TOT ได้รุกหน้าเปิดการประมูลเพื่อขยายโครงข่ายของ TOT 3G เอง โดยการประกวดราคาด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (E-Auction) ในโครงการจัดสร้างโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G กล่าวว่า หลังจากเปิดให้ยื่นซองประกวดราคาโครงการในวันที่ 10 ม.ค.ตั้งแต่เวลา 9.00 – 12.00 น. มี 4 กิจการร่วมค้ายื่นเอกสารเข้าร่วมประมูล ซึ่งไปประกอบ ด้วย
- กลุ่มเอยู คอนซอร์เตียม ซึ่งประกอบด้วย บริษัทแอดวานซ์ อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี (เอไอที) บริษัทยูเทล และบริษัทอัลคาเทล-ลูเซ่น (ประเทศไทย) ยื่นเวลา 9.30น.
- เอสแอล คอนซอร์เตียม ประกอบด้วย บริษัทสามารถ คอร์ปอเรชั่น บริษัท ล็อกซเล่ย์ บริษัทโนเกีย-ซีเมนส์ และบริษัทหัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) ยื่นเวลา 10.03น.
- กิจการร่วมค้า อีริคสัน ซึ่งมีบริษัทอีริคสัน ประเทศไทย กับบริษัทเอเอส แอสโซซิเอส ยื่นเวลา 10.17น. และ
- แซดทีอี คอนซอร์เตียม ซึ่งมีบริษัทแซดทีอี กับบริษัทฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น ยื่นเวลา 11.19น.
- ซึ่งต่อมาได้ผู้ชนะการประมูล คือ กลุ่มเอสแอล คอนเซอเตียม ซึ่งมี บริษัทสามารถ, ล็อกเล่ย์ และหัวเหว่ย ด้วยราคา 16,290 ล้านบาท ลดจากราคากลางที่ตั้งไว้ที่ 17,440 ล้านบาท
- ซึ่งจากผลการประมูลดังกล่าว ทางด้านรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ของ TOT จะลงนามรับทราบว่า กลุ่มเอสแอล คอนซอเตียม ได้เป็นผู้ชนะการประมูล จากนั้นจะดำเนินการรายงานเรื่องต่อบอร์ดบริหาร และจะมีการเซ็นสัญญาจ้างอย่างเป็นทางการใน วันที่ 31 มกราคม 2554
- – วันที่ 31 มกราคม 2554 TRUE ได้ลงนามในสัญญากับบริษัทในกลุ่มฮัทชิสัน เข้าซื้อกิจการการให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ CDMA ภายใต้ชื่อ “Hutch”
- พร้อมกันนั้น TRUE ยังได้เซ็นสัญญากับ CAT ในการดูแลเพื่อโอนถ่ายลูกค้าระบบCDMA เข้าสู่ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่เทคโนโลยีHSPA โดยสัญญาสัมปทานที่ TRUE ทำกับ CAT เหลืออายุสัญญาเพียง 2 ปี ซึ่งจะหมดอายุสัญญาในปี 2556 การเข้าซื้อกิจการครั้งนี้จะทำให้สัญญาเช่าใช้โครงข่ายเพื่อให้บริการเครือ ข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่มีเวลาเพิ่มขึ้นอีก 15 ปี โดยจะลงทุนอัพเกรดโครงข่ายCDMA 3,000 สถานีฐาน เป็นโครงข่ายเทคโนโลยี HSPA ในระยะเวลา 2 ปีนี้ และคาดว่าจะมีลูกค้าที่ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวประมาณ 3 ล้านราย
- ทั้งนี้ กรรมการผู้จัดการใหญ่ CAT กล่าวว่า การลงนามสัญญาครั้งนี้ CAT ลงนามในสัญญากับTRUE 2 ส่วน คือ
- สัญญาโอนถ่ายลูกค้าที่ใช้ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ CDMA แบ่งเป็นสัญญาดูแลลูกค้าเพื่อถ่ายโอนไปยังเทคโนโลยี HSPA และสัญญาดูแลโครงข่ายเดิมในระบบ CDMA ซึ่งเป็นสัญญาที่มีอายุ 2 ปี
- สัญญาให้ดำเนินการธุรกิจระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3 จีแบบ HSPA แบ่งเป็นสัญญาเช่าใช้อุปกรณ์บางส่วนในการใช้บริการเครือ ข่าย และสัญญาขายส่ง-ขายปลีก ซึ่งเป็นสัญญาที่มีอายุ 15 ปี โดยผลตอบแทนที่ CAT จะได้รับคือส่วนแบ่งรายได้จากการให้บริการลูกค้าจำนวน 7 แสนราย ประมาณที่ 20%
- ในเวลาต่อมาเมื่อหนังสือสัญญาผ่านการตรวจสอบของอัยการสูงสุด TRUE ลงนามสัญญาทันที โดยทาง TRUE อ้างว่า สาเหตุที่ลงนามทันที เนื่องจากเพื่อหยุดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับ CAT เนื่องจากสัญญาที่ CAT ทำไว้กับ Hucth ไม่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ แต่การทำสัญญากับ True จะทำให้มีรายได้จากสัมปทานที่เคยขาดทุนปีละ 1,000 ล้านบาท เปลี่ยนเป็นกำไรทันทีปีละ 2,000 ล้านบาท
- ขณะเดียวกัน พนักงาน CAT ได้ยื่นหนังสือกับประธานคณะกรรมการ CAT เพื่อคัดค้านการลงนามตามสัญญาโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G กับ TRUE โดยระบุว่าเป็นการเร่งรัดผิดสังเกต ซึ่งสัญญาและเอกสารแนบท้ายสัญญายังมีประเด็นไม่ชัดเจนการลงนามอาจก่อให้เกิด ความเสียหายได้ แต่ในขณะเดียวกัน นายสุขุม ชื่นมะนา ประธานสหภาพแรงงาน CAT กลับมองว่าเห็นด้วยกับการเซ็นสัญญาและไม่ได้ส่งผลกระทบใด ๆ ต่อ CAT รวมทั้งเป็นการสร้างรายได้ในระยะยาวให้หากไม่เร่งเซ็นสัญญาก็จะทำให้สูญเสีย รายได้และโอกาส
- ต่อมา CAT ภายหลังลงนามสัญญาคณะทำงานร่างสัญญาดังกล่าวซึ่ง ได้ตัดสินใจลาออกยกชุด 17 คน เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับการเซ็นสัญญา โดยต้องการให้ส่งร่างสัญญาให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาก่อน รวมถึงให้บอร์ดบริหารเห็นชอบ แม้ที่ผ่านมามีการส่งร่างสัญญาให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจสอบแล้วก็ตามก็ ไม่จำเป็นต้องเร่งเซ็นสัญญา
- อีกด้านหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับ 3G เช่นกันนั้นในเวลาใกล้กันกิจการร่วมค้าZTEได้ยื่นฟ้องTOT ต่อศาลปกครองกลางในคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้า หน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หลังจากถูกตัดสิทธิการเข้าร่วมประมูล 3G ของ TOTมูลค่า 17,440 ล้านบาท ซึ่งเมื่อวันอังคาร บริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัดได้ยื่นฟ้องไปก่อนหน้าแล้ว
- ด้วยเหตุดังกล่าว จึงยังมองไม่เห็นว่า ทิศทางการพัฒนาการให้บริการระบบ 3G ในประเทศไทย จะเป็นอย่างไร ซึ่งปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น ล้วนแล้วแต่แสดงให้เห็นว่า หน่วยงานต่างๆของรัฐ ไม่ทำการสนับสนุนระบบ 3G อย่างจริงจังเนื่องจากยังติดขัดด้านการตีความกฎข้อบังคับ และการขัดกันของผลประโยชน์ ทำให้การพัฒนาการให้บริการระบบ 3G ต้องล่าช้าออกไปอย่างไม่มีกำหนด ซึ่งส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเทคโนโลยีในประเทศเป็นอย่างมาก ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งทางด้านเศรษฐกิจและโอกาสทางติดต่อสื่อสารมากมาย
ที่มา: http://www.learners.in.th/blog/ibet01/465877